สาระสำคัญ

สาระสำคัญ
          
            ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจําชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทําให้สามารถประกอบกิจธุระการงานและดํารงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ตลอดจนนําไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี ชีวทัศน์ โลกทัศน์ และสุนทรียภาพ โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ําค่า ภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป 

๑. ความสำคัญของวรรณคดีไทยปัจจุบัน
         วรรณคดี วรรณกรรมไทยปัจจุบันและวรรณกรรมท้องถิ่นมีความสำคัญต่อท้องถิ่น
และประเทศชาติ ดังต่อไปนี้
         ๑.๑ ทางด้านการใช้ภาษา ผู้เขียนหรือผู้เล่าได้แสดงความสามารถทางด้านการใช้
ภาษาในการถ่ายทอดความไพเราะ ความหมายที่ดี ความลึกซึ้งและสืบทอดความรู้สึกนึกคิด ให้ผู้อื่นได้รับรู้แนวคิดของตน ซึ่งมีผล ทำให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเกิดปัญญาหาเหตุผลได้
         ๑.๒ สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคน ผู้อ่านหรือผู้ฟังวรรณคดี วรรณกรรมไทยปัจจุบัน และวรรณกรรมท้องถิ่น จะได้รับความรู้เกี่ยวกับความคิด ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของ ท้องถิ่น สังคมและประเทศชาตินั้น ๆ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนและโบราณคดี เช่น วรรณกรรมประเภทนิทาน ตำนาน ประวัติศาสตร์และศิลาจารึก เป็นต้น
         ๑.๓ สืบทอดและอนุรักษ์วัฒนธรรม การสร้างวรรณกรรมวัฒนธรรมหลายประเภท ทำให้การสืบทอดวัฒนธรรมด้านวัตถุต่าง ๆ เช่น งานช่าง งานฝีมือ การประดิษฐ์อักษร
การมีภาษาเป็นของตนเอง ซึ่งสิ่งดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญที่บอกให้ทราบถึงความเป็นชาติ
เดียวกันเพราะความเป็นชาติจะต้องมีภาษาใช้เป็นภาษาเดียวกันภายในชาติ
         ๑.๔ เป็นสื่อถ่ายทอดความรู้ กฎ ระเบียบ คำสอน ศีลธรรม โดยใช้วรรณกรรม
ท้องถิ่นให้ผู้รับฟัง ผู้อ่านได้รับรู้และเข้าใจโดยไม่รู้ตัว เช่น วรรณกรรมศาสนา คำสอน ตำนาน หรือวรรณกรรมเบ็ดเตล็ด เป็นต้น
         ๑.๕ เป็นเครื่องมือสร้างกำลังใจและสร้างศรัทธา ทำให้เกิดความเชื่อมั่น มีกำลังใจ
ได้ เช่น วรรณกรรมที่ใช้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น มนต์ คาถา บทสวด บททำขวัญ เป็นต้น
         ๑.๖ เป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคี วรรณกรรมท้องถิ่นสามารถสร้างความสามัคคี ของคนในหมู่คณะเดียวกันและประเทศชาติได้ เช่น วรรณกรรมคำสอนต่าง ๆ ยกตัวอย่าง คำสอนเกี่ยวกับการเป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ การผูกมิตรของกวีเอกสุนทรภู่ เรื่องนิราศภูเขาทอง กล่าวไว้ว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น